“ช่วยชาวเขา  ช่วยชาวเรา  ช่วยชาวโลก”
 
 
 
 

สถานีเกษตรหลวงปางดะ  ที่มา : สถานีเกษตรหลวงปางดะ http://www.thairoyalprojecttour.com/?p=1087

 
 

ปี พ.ศ.2522 มูลนิธิโครงการหลวงได้เลือกพื้นที่ในสถานีทดลองข้าวไร่ และธัญพืชเมืองหนาวสะเมิง ของกรมวิชาการเกษตรหมู่บ้านปางดะ เป็นแหล่งทำการขยายพันธุ์พืช เมื่อปริมาณความต้องการด้านพันธุ์พืชเพิ่มมากขึ้น ทำให้ผลิตต้นพันธุ์ได้ไม่เพียงพอ มูลนิธิโครงการหลวงจึงเปิดสถานที่แห่งใหม่ขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2526 บนพื้นที่ประมาณ 25 ไร่ ติดอ่างเก็บน้ำโครงการพระราชดำริห้วยปลาก้าง ซึ่งไม่ไกลจากบริเวณเดิมมากนัก
ต่อมาในปี พ.ศ.2528-2529 จึงซื้อที่ดินเพิ่มอีกประมาณ 65 ไร่ ขยายพื้นที่สำหรับการขยายพันธุ์พืชอย่างถาวร โดยดำเนินงานภายใต้ชื่อ “ศูนย์ขยายพันธุ์พืชปางดะโครงการหลวง” จนเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2530 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงเยี่ยมศูนย์ขยายพันธุ์พืชปางดะโครงการหลวงเป็นครั้งแรก โดยทอดพระเนตรกิจกรรมต่างๆ ภายในศูนย์ และในโอกาสนี้หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิธิโครงการหลวงได้ทูลขอพระราชทานชื่อใหม่ว่า “สถานีเกษตรหลวงปางดะ” ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาพระราชทานให้ใช้ชื่อนี้ พร้อมกับได้ขยายพื้นที่เพิ่มเติมรวม 150 ไร่ ในปีเดียวกัน
ปัจจุบันสถานีเกษตรหลวงปางดะได้ขยายขอบเขตการปฏิบัติงาน เป็นสถานีวิจัยขยายพันธุ์พืชหลายชนิด นอกจากไม้ผลเมืองหนาว ไม้ดอกเมืองหนาว ไม้ผลเมืองร้อนและกึ่งร้อน ถั่วแขกและไม้ป่าไม้โตเร็ว

 
 

   พุทธศักราช  ๒๕๓๕  ได้มีพระราชดำริให้ผู้แทนโครงการหลวงของจดทะเบียน 
มูลนิธิโครงการหลวง  ทรงรับเป็นนายกกิตติมศักดิ์  ประธานลำดับแรกคือ  หม่อมเจ้า
ภีเดชรัชนี  ผู้ทรงทำงานถวายมาตั้งแต่แรกเริ่มโครงการฯ  ต่อมาเมื่อพุทธศักราช  ๒๕๔๖
 มูลนิธิโครงการหลวงเป็นผู้ขอจดทะเบียนสิทธิบัตร  ๑๑  ฉบับ เกี่ยวกับหญ้าแฝก 
ซึ่งเป็นพืชที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทดลองวิจัยและทรงสนับสนุนให้ปลูกใน
พื้นที่ต่าง ๆ  รวมทั้งพื้นที่มีความลาดชันสูงเช่น  พื้นที่โครงการหลวง
   โครงการหลวงนับเป็นโครงการในพระราชดำริระดับสากลที่ชาวไทยรู้จักมากที่สุด
โครงการหนึ่ง  มีผู้มาทัศนศึกษาดูงานอย่างต่อเนื่อง  เช่น  สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี
 เมื่อครั้งยังทรงดำรงพริสริยยศเป็นมกุฎราชกุมารแห่งราชอาณาจักรภูฏาน เสด็จพระราช
ดำเนินไปทางทัศนศึกษาเมื่อพุทธศักราช  ๒๕๔๙  ทรงนำแนวทางของโครงการหลวงไป
ประยุกต์ใช้ในราชอาณาจักรภูฏานโครงการหลวงยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวตลอดปีสำหรับ
ชาวไทยมีรายการชมไม้เมืองหนาว  และชิมอาหารฝีมือพ่อครัวระดับโลกที่ใช้วัตถุดิบ
จากโครงการหลวงมาปรุงอาหาร  เช่นปลาเทราต์  หมูจินหัว  และผักเมืองหนาว 
รวมทั้งไวน์ที่ผลิตได้ในโครงการหลวง

 
                                           Next  
 

  

 
           
          HOME     MAIN ความหมาย         ความเป็นมา วัตถุประสงค์มูลนิธิโครงการหลวง

สถานีวิจัยโครงการหลวง